เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(5)
ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ในทิศทั้งหลาย ขอเชิญเสด็จมาขึ้นราชรถคันนี้ เทพเจ้าชาวดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ ใคร่จะเห็นพระองค์ เทพเจ้าเหล่านั้นระลึกถึงพระองค์ ประชุมกันรออยู่ที่สุธรรมาเทวสภา
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(11)
สิ่งใดที่ได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเปรียบเหมือนยวดยาน หรือทรัพย์ที่ยืมเขามา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ่งที่ผู้อื่นมอบให้ บุญทั้งหลายที่หม่อมฉันทำเองย่อมเป็นทรัพย์ที่จะติดตามหม่อมฉันไป
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(7)
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ก็ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ก็ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ พวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยากแสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ และพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(8)
คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ ดีแต่ว่าคนอื่น ทำการกีดขวางคนอื่นผู้ให้อยู่ คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน หรือยมโลก
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(3)
บุคคลย่อมบังเกิดในขัตติยตระกูลเพราะพรหมจรรย์ขั้นต่ำ บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเพราะพรหมจรรย์ชั้นกลาง และบุคคลย่อมบริสุทธิ์ เพราะพรหมจรรย์อย่างสูงสุด
กฐินล้านนาสามัคคีปี2553
24ปี ศรีสง่า ร่วมสืบสานพุทธประเพณีของชาวล้านนาและเชิญมาร่วมงานที่ธุดงคสถานล้านนาเชิญดูรายละเอียดได้นะครับ
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(9)
ชนเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกล ย่อมแบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนเหล่านั้น เมื่อชนอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(4)
ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว ย่อมไม่รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้นถึงจะมีโภคสมบัติเสมอด้วยพระอินทร์ ก็ชื่อว่าเป็นคนเข็ญใจ เพราะได้ความสุขที่ต้องอาศัยผู้อื่น
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(6)
ชนเหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มีกำลังวังชา มีกรรมอันเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนด่าว่าผู้อื่นซึ่งหากำลังมิได้ ชนเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรม จึงตกลงสู่เวตรณีนรก
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(10)
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญอันสูงสุดต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ มีความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์ อันไม่มีความเบียดเบียน อยู่เป็นสุข